เมื่อสถาบันราชภัฏเทพสตรี ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ แล้ว มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน เพื่อปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ.๒๕๔๔ และให้ทำหน้าที่
๑. ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อป้องกันหรือลดความผิดพลาด/การทุจริต
๒. ตรวจสอบความถูกต้องเชื่อได้ของรายงานการเงินและพัสดุ
๓. ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ รวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบายและวิธีปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้นตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ที่ ๒๔๒๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ จำนวน ๑๑ คน ดังนี้
๑. นางไฉน พงษ์โอภาส ประธานกรรมการ
๒. นายนพพร กุลเลิศพิทยา รองประธานกรรมการ
๓. นางจันทวัน เบ็ญจวรรณ์ กรรมการ
๔. นายสุรยุทธ ทองคำ กรรมการ
๕. ผศ.ทัศนา แก้วพลอย (ประจำคณะครุศาสตร์) กรรมการ
๖. นายสมโภชน์ สายบุญเรือน (ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ) กรรมการ
๗. นายอำนวย เหมือนสังข์ (ประจำคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม) กรรมการ
๘. นางสาวสุวรรณา พันแสง (ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) กรรมการ
๙. นายประดิษฐ์ เจริญชัยชนะ (ประจำคณะวิทยาการจัดการ) กรรมการ
๑๐. นายประสาร ฉลาดคิด (ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) กรรมการ
๑๑. นางสาวนันทนา แจ้งสว่าง กรรมการและเลขานุการ
ต่อมาจึงมีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายในขึ้นตามโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒ และเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือหรือผู้ช่วยของฝ่ายบริหาร ตลอดจนส่งเสริมการปฏิบัติงานของส่วนงานต่างๆในมหาวิทยาลัย ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการบริการให้หลักประกันความเชื่อมั่น (Assurance Services) จากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ อย่างเที่ยงธรรมเพื่อนำมาประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าของกระบวนการปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุมและการกำกับดูแลของส่วนงานต่างๆ และการบริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) และการนำเสนอรายงาน เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าและความสำเร็จแก่องค์กร ดังนี้
๑. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
๒. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชี และรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
๓. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ของการปฏิบัติงาน
๔. เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ (Check and Balance) โดยส่งเสริมให้การจัดสรรการใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
๕. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตในองค์กร เพื่อลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน
ผู้บริหารของหน่วยตรวจสอบภายใน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ถึงปัจจุบัน ได้แก่
๑. นางไฉน พงษ์โอภาส หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๒๕๕๓
๒. นายนพพร กุลเลิศพิทยา หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๙
๓. ผศ.สุรยุทธ ทองคำ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐
๔. นางสาวทัศนีย์ บวรศุภการกุล หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน